วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มะละกอ

การแกะสลักผักและผลไม้



การแกะสลักผักและผลไม้เป็นตัวสัตว์โดยทั่วไป นิยมใช้ เผือก มันเทศ ฟักทอง หรือมะละกอ แกะสลักลวดลายสัตว์ เช่น ปลาเงิน ปลาทอง จากมันเทศ ที่เมื่อแกะสลักเสร็จแล้วนำไปเชื่อม เพื่อเป็นของหวาน นอกจากนี้ยังสามารถแกะสลักจากมะละกอสุกแต่ไม่นิ่มแกะเป็นปลาคราฟก็ได้


การแกะสลักผักและผลไม้เป็นตัวสัตว์นี้มีความจำเป็นจะต้องละเอียดอ่อน ตั้งแต่การเลือกชนิดของผักและผลไม้ เช่น การใช้มะละกอ แกะสลักเป็นตัวปลา ควรเลือกมะละกอพันธุ์โกโก้นำมาแกะสลักเป็นตัวปลา เพราะมีช่องว่างภายในผลกว้าง ความแน่นของเนื้อน้อยกว่าพันธุ์แขกดำ ที่เหมาะสำหรับนำมาแกะสลักเป็นดอกไม้ต่าง ๆ เพราะพันธุ์นี้มีเนื้อแน่นช่องว่างภายในแคบ เมล็ดน้อยเหมาะที่จะนำมาตัดแบ่งเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม (ชลลดา, 2542 : 324)

หลักการแกะสลักผักและผลไม้เป็นตัวสัตว์ 

 หลักการแกะสลักผักและผลไม้เป็นตัวสัตว์ก็คล้าย ๆ กับการแกะสลักผักและผลไม้เป็นใบไม้และดอกที่กล่าวมาแล้วในครั้งที่ 3 และ 4 โดยมีลำดับขั้นดังต่อไปนี้

1. เลือกผักหรือผลไม้ที่จะนำมาแกะสลักเป็นตัวสัตว์ให้เหมาะสมกับตัวสัตว์ที่จะแกะ ตามวิธีการเลือกผักและผลไม้เพื่อการแกะสลัก

2. ล้างผักหรือผลไม้ให้สะอาดปอกเปลือกเพียงบาง ๆ เพื่อไม่ให้เสียเนื้อของผักและผลไม้ในส่วนที่จะแกะสลัก

3. ร่างรูปสัตว์ที่จะทำการแกะสลักให้มีรายละเอียดที่จำเป็นให้ครบถ้วน

4. ฉลุให้เป็นตัวสัตว์โดยเกลาให้เกลี้ยง เซาะร่องต่าง ๆ ตามลวดลายที่ร่างไว้ให้ครบถ้วน


เครื่องมือ และอุปกรณ์
1. มีดแกะสลัก 1 เล่ม

2. มีดบาง 1 เล่ม
3. ภาชนะสำหรับใส่น้ำ
4. ถาด

5. กล่องหรือถุงพลาสติกสำหรับใส่ชิ้นงานที่แกะสลัก

6. ผ้าเช็ดมือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น