วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ร.อ.รื่น นิรันต์









ร.อ.รื่น นิรันต์ เป็นอดีตนายทหารเรือ ซึ่งเป็นผู้คิดแม่แบบดอกไม้ ที่ใช้แกะสลักและได้ถ่ายทอดวิชานี้แก่ลูกชาย ซึ่งกลายมาเป็น”มรดกเพชรสยาม “ ซึ่งเป็นร้านที่สอนศิลปะการแกะสลักผักผลไม้และสบู่ของผู้ชาย 2 คน คือ พ.จ.อ. ดำรงศักดิ์ เป็นอดีตช่างหทารเรือ คุณเรวัติ จบรัฐศาสตร์ รามคำแหง อะไรที่ทำให้คนทั้งสอง เดินทางสู่มรดกเพชรสยาม


ผลไม้รวม

 


สุขใจเห็นทีว่าจะขอตัวลองไปฝึกแกะสลักกับเค้าบ้างนะคะ จะได้เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยของเราไว้อีกทางหนึ่งด้วย การแกะสลักนั้นนอกจากจะมีประเภทพวกผักผลไม้แล้วยังมีงานไม้ งานปูนปั้น ที่ใช้ศิลปะการแกะสลักเพื่อการตกแต่งเช่นกัน

ประติมากรรมผลไม้ไทย

การแกะสลักผลไม้ ผลงาน จ่าเอกหญิงวัชรี โชติรัตน์

- ประติมากรรมนูนต่ำ เป็นการปั้นหรือสลักโดยให้ภาพที่เกิดนูนขึ้นจากพื้นหลังเพียงเล็กน้อย อาศัยแสงเงาช่วยให้ความรู้สึกตื้นทางการมอง เช่น รูปบนเหรียญต่างๆ

ไทยสไปย์



กลุ่มร้านค้าและร้านอาหาร เท่าที่ติดต่อสอบถามได้รับคำตอบว่าพอใจประทับใจในการดูแลเอาใจใส่ให้ความร่วมมือจากซีตี้เออร์วายน์ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นงาน และ ผู้มาร่วมออกร้านต่างๆ จะขอมาร่วมสมัครจัดออกร้านอีกในปีหน้า และปีต่อไปๆ ร้านอาหารไทยมีแถวยาวต่อกันตลอดงาน ไทยสมาย,สไปย์ซี่ไทย,ไทยสไปย์ และรถขายอาหาร Streets of Thailand ก็หวังใจว่าทุกๆร้านจะได้ผ่านการยอมรับคัดเลือกเข้ามาเช่นเดิม และเพิ่มกิจการธุรกิจด้านอื่นๆ ของคนไทยในงานนี้เพิ่มขึ้นอีกมากมายในอนาคต



ผลไม้นาๆ




ส่วนหนึ่งของการแสดงการแกะสลักผลไม้ของไทย น่ารักเชียว งานนี้คนญี่ปุ่นแกะสลักครับ เจ๋งมากๆ

มะละกอ

การแกะสลักผักและผลไม้



การแกะสลักผักและผลไม้เป็นตัวสัตว์โดยทั่วไป นิยมใช้ เผือก มันเทศ ฟักทอง หรือมะละกอ แกะสลักลวดลายสัตว์ เช่น ปลาเงิน ปลาทอง จากมันเทศ ที่เมื่อแกะสลักเสร็จแล้วนำไปเชื่อม เพื่อเป็นของหวาน นอกจากนี้ยังสามารถแกะสลักจากมะละกอสุกแต่ไม่นิ่มแกะเป็นปลาคราฟก็ได้


การแกะสลักผักและผลไม้เป็นตัวสัตว์นี้มีความจำเป็นจะต้องละเอียดอ่อน ตั้งแต่การเลือกชนิดของผักและผลไม้ เช่น การใช้มะละกอ แกะสลักเป็นตัวปลา ควรเลือกมะละกอพันธุ์โกโก้นำมาแกะสลักเป็นตัวปลา เพราะมีช่องว่างภายในผลกว้าง ความแน่นของเนื้อน้อยกว่าพันธุ์แขกดำ ที่เหมาะสำหรับนำมาแกะสลักเป็นดอกไม้ต่าง ๆ เพราะพันธุ์นี้มีเนื้อแน่นช่องว่างภายในแคบ เมล็ดน้อยเหมาะที่จะนำมาตัดแบ่งเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม (ชลลดา, 2542 : 324)

หลักการแกะสลักผักและผลไม้เป็นตัวสัตว์ 

 หลักการแกะสลักผักและผลไม้เป็นตัวสัตว์ก็คล้าย ๆ กับการแกะสลักผักและผลไม้เป็นใบไม้และดอกที่กล่าวมาแล้วในครั้งที่ 3 และ 4 โดยมีลำดับขั้นดังต่อไปนี้

1. เลือกผักหรือผลไม้ที่จะนำมาแกะสลักเป็นตัวสัตว์ให้เหมาะสมกับตัวสัตว์ที่จะแกะ ตามวิธีการเลือกผักและผลไม้เพื่อการแกะสลัก

2. ล้างผักหรือผลไม้ให้สะอาดปอกเปลือกเพียงบาง ๆ เพื่อไม่ให้เสียเนื้อของผักและผลไม้ในส่วนที่จะแกะสลัก

3. ร่างรูปสัตว์ที่จะทำการแกะสลักให้มีรายละเอียดที่จำเป็นให้ครบถ้วน

4. ฉลุให้เป็นตัวสัตว์โดยเกลาให้เกลี้ยง เซาะร่องต่าง ๆ ตามลวดลายที่ร่างไว้ให้ครบถ้วน


เครื่องมือ และอุปกรณ์
1. มีดแกะสลัก 1 เล่ม

2. มีดบาง 1 เล่ม
3. ภาชนะสำหรับใส่น้ำ
4. ถาด

5. กล่องหรือถุงพลาสติกสำหรับใส่ชิ้นงานที่แกะสลัก

6. ผ้าเช็ดมือ

แตงโม

การแกะสลักผักและผลไม้มีหลักการสำคัญ

         

1. การเลือกซื้อผักและผลไม้ ควรเลือกชนิดที่มีความสดใหม่ เพื่อจะช่วยให้ผลงานที่แกะสลัก มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น
2. ก่อนนำผักและผลไม้ไปแกะสลัก ควรล้างน้ำให้สะอาด
3. การเลือกมีดแกะสลัก ควรเป็นมีดสแตนเลส หรือมีดทองเหลือง ซึ่งมีดต้องคมมาก เพราะจะทำให้ผักและผลไม้ไม่ช้ำและไม่ดำ
4. การเลือกชนิดของผักและผลไม้แกะสลัก ควรเลือกให้เหมาะกับประโยชน์การนำไปใช้
5. การเลือกรูปแบบหรือลวดลายที่จะแกะควรเลือกให้เหมาะกับการนำไปใช้ประโยชน์
6. การเลือกผัก ผลไม้ตกแต่งอาหารควรเลือกชนิดที่มีสีสวยงาม หลากหลาย เพื่อจะทำให้อาหารน่ารับประทานขึ้น
7. การแกะสลักต้องพยายามรักษาคุณค่าอาหาร โดยไม่ควรแช่น้ำนานเกินไป